วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนรู้แบบเทคนิค K-W-D-L


ที่มาของการจัดการเรียนรู้แบบเทคนิค K-W-D-L
ประภัสรา  (ม.ป.ป.). ได้กล่าวว่า  การสอนแบบเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) หรือ เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) ได้พัฒนาขึ้นโดย Ogle (1989) เพื่อใช้สอนและฝึกทักษะทางการอ่าน และต่อมาได้พัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น โดย Carr และ Ogle ในปีถัดมา (1987) โดยยังคงสาระเดิมไว้ แต่เพิ่มการเขียนผังสัมพันธ์ทางความหมาย (Semantic Mapping) สรุปเรื่องที่อ่าน และมีการนำเสนอเรื่องจากผังอันเป็นการพัฒนาทักษะการเขียนและพูด นอกเหนือไปจากทักษะการฟัง และการอ่าน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการสอนทักษะภาษา แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆที่มีการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ เช่น วิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นต้น เพราะว่าผู้เรียนจะได้รับการฝึกให้ตระหนักในกระบวนการการทาความเข้าใจตนเอง การวางแผนการ ตั้งจุดมุ่งหมาย ตรวจสอบความเข้าใจในตนเอง การจัดระบบข้อมูล เพื่อดึงมาใช้ภายหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีประโยชน์ในการฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนสรุป และนำเสนอ ซอและคณะ อาจารย์มหาวิทยาลัยมิสซัสซัปปี้ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเทคนิค K-W-D-L มาใช้สอนในวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งนำรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Cooperative Learning) มาผสมผสานในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้โดยพัฒนาเป็นการจัดการเรียนรู้เรียกว่าเทคนิค K-W-D-L มีการทดลองใช้การเรียนร่วมกลุ่มในวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งครูในโปรแกรม PDS (Professional Development School) ซึ่งเป็นโปรแกรมพัฒนาครูของมหาวิทยาลัยมิสซัสซิปปี้ได้ขอให้ทางมหาวิทยาลัยริเริ่มจัดโครงการเรียนร่วมกลุ่ม (cooperative learning) ผู้ร่วมโครงการ คือครูผู้สอนเกรด 4 และนักเรียนของตน เป็นโรงเรียนที่อยู่ในชนบทห่างไกล ครูไม่เคยมีประสบการณ์ในเรื่องการจัดการเรียนร่วมกลุ่มใน วิชาคณิตศาสตร์มาก่อน แต่ใคร่ที่จะเรียนรู้และทดลองใช้ กลวิธีนี้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มทดลองมี 2 ห้องเรียนใช้การเรียนร่วมกลุ่มในวิชา คณิตศาสตร์และวิชาอื่นๆด้วย ส่วนอีก 2 ห้องเรียน นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มเป็นครั้งคราว ในกลุ่มทดลองนั้น นักเรียนจะเรียนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เป็นกลุ่ม 2 – 4 คาบ ต่อสัปดาห์และคาบที่เรียนร่วมกลุ่มนี้จะเรียนหลังจากที่ได้เรียนหัวข้อต่างๆ อันเป็นพื้นฐานในกลุ่มใหญ่แล้วในกลุ่มทดลองนี้นักเรียนแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้หนังสือเรียนแบบฝึกสถานการณ์จริงที่ครูแนะนำ และสื่อสาเร็จที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นครูได้รับการแนะนำและทบทวนเกี่ยวกับกลวิธีแก้ปัญหาเฉพาะเช่น การเดา และการตรวจสอบ ทำแผนภูมิ และภาพประกอบ  
จิตรลัดดา นุ่นสกุล. (2555).  ได้กล่าวว่า  การสอนด้วยเทคนิค KWDL เป็นเทคนิคการเรียนรู้ที่พัฒนามาจาก KWLของโอเกิล(Ogle  1986) ที่ต้องอาศัยทักษะการอ่านเป็นฐาน  นั่นคือนักเรียนมีความสามารถในการอ่านก่อนที่จะสามารถพัฒนาทักษะการอ่านมากขึ้น  การสอนด้วยเทคนิค KWDL มีขั้นตอนดำเนินการเช่นเดียวกับ เทคนิคการสอนแบบ KWL แต่จะเพิ่ม Dในขั้นตอนที่ 3   จากเดิม 3 ขั้นตอนมาเป็น 4 ขั้นตอน เพื่อให้เหมาะสมในการใช้แก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์  
เลิศชาย ปานมุข. ( 2558 ).  ได้กล่าวว่า การสอนแบบเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) หรือ เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) ได้พัฒนาขึ้นโดย Ogle (1989) เพื่อใช้สอนและฝึกทักษะทางการอ่าน และต่อมาได้พัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น โดย Carr และ Ogle ในปีถัดมา (1987) โดยยังคงสาระเดิมไว้ แต่เพิ่มการเขียนผังสัมพันธ์ทางความหมาย (Semantic Mapping) สรุปเรื่องที่อ่าน และมีการนำเสนอเรื่องจากผังอันเป็นการพัฒนาทักษะการเขียนและพูด นอกเหนือไปจากทักษะการฟัง และการอ่าน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการสอนทักษะภาษา แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆที่มีการอ่านเพื่อทาความเข้าใจ เช่น วิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นต้น เพราะว่าผู้เรียนจะได้รับการฝึกให้ตระหนักในกระบวนการการทาความเข้าใจตนเอง การวางแผนการ ตั้งจุดมุ่งหมาย ตรวจสอบความเข้าใจในตนเอง การจัดระบบข้อมูล เพื่อดึงมาใช้ภายหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีประโยชน์ในการฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนสรุป และนำเสนอ
         
ความหมายการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL
สุจิตรา   ศรีสละ. ( 2554 ).   ได้กล่าวว่า   เทคนิค K-W-D-L หมายถึง วิธีการจัดการเรียนรู้ ที่นำการอ่านมาเป็นแนวทางช่วยใน การวิเคราะห์โจทย์เพื่อหาคำตอบ มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 K (What we know) เรารู้อะไรบ้างจากสิ่งที่โจทย์กำหนดให้
ขั้นที่ 2 W (What we want to know) เราหาสิ่งที่โจทย์ต้องการรู้ว่าคืออะไรและมี วิธีการอย่างไร
ขั้นที่ 3 D (What we do to find out) เราจะต้องด าเนินการอย่างไรเพื่อหาคำตอบ ตามที่โจทย์ต้องการ
ขั้นที่ 4 L (What we learned) เราเรียนรู้อะไร อะไรที่เราสรุปได้เป็นความรู้
ชอ แชมเบลส และ เชสซิน (Shaw; Chambless; & Chessin. 1997: 482 - 486)   ได้กล่าวว่า  เทคนิค KWDL หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ
1. K (What we know) เรารู้อะไรบ้าง
2. W (What we want to know) เราต้องการรู้ ต้องการทราบอะไร
3. D (What we do to find out) เราทำอะไรไปบ้างแล้ว
4. L (What we learned) เราเรียนรู้อะไรบ้าง
นิรันดร์ แสงกุหลาบ (2547: 13)   ได้กล่าวว่า   เทคนิค KWDL หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ชี้นำการคิดแนวทาง ในการอ่านและหาคำตอบประกอบไปด้วยขั้นตอนการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน คือ
1. K (What we know) เรารู้อะไรบ้างจากที่โจทย์กำหนดให้
2. W (What we want to know) เราต้องการรู้ ต้องการทราบอะไร
3. D (What we do to find out) เราทำอะไร อย่างไรหรือเรามีวิธีการอย่างไรบ้าง
4. L (What we learned) เราเรียนรู้อะไร อะไรที่สรุปได้เป็นความรู้

ขั้นตอนและกระบวนการการจัดการเรียนรู้
วีระศักดิ์  เลิศโสภา (2544: 6) นำเทคนิค KWDL มาใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยนำมาบูรณาการกับการเรียนแบบร่วมมือกัน (Cooperative Learning) ด้วยการปรับรูปแบบการเรียน ให้เหมาะสมกับกระบวนการแก้โจทย์ปัญหา มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทบทวนความรู้เดิมโดยนำเสนอสถานการณ์ปัญหาหรือ เกมคณิตศาสตร์
ขั้นที่2 ขั้นดำเนินการสอนใช้เทคนิคการสอน เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ในการสอนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนการสอน 4 ขั้นตอน
1) หาสิ่งที่รู้เกี่ยวกับโจทย์ โดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆ ละ 4 - 5 คน ให้นักเรียนร่วมกันระดมสมองหาสิ่งที่โจทย์กำหนดให้และสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบ
2) นักเรียนร่วมกันอภิปราย เพื่อหาความสัมพันธ์ของโจทย์ที่กำหนดให้และ วิธีการแก้โจทย์ปัญหา
3) ดำเนินการแก้โจทย์ปัญหา นักเรียนช่วยกันแก้โจทย์ปัญหา โดยเขียน เป็นประโยคสัญลักษณ์ หาคำตอบ และตรวจคำตอบที่ได้
4) สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียน ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอรูปแบบ และแนวทาง ในการแก้โจทย์ปัญหา นักเรียนสรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน
ขั้นที่3 ขั้นฝึกทักษะอิสระ นักเรียนทำแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์
ขั้นที่4 ขั้นวัดและประเมินผล สังเกตการร่วมกิจกรรม ตรวจผลงานกลุ่ม และแบบฝึกหัด
น้ำทิพย์ ชังเกตุ (2547: 9) นำเทคนิค KWDL มาบูรณาการกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยการปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับ กระบวนการและวิธีแก้โจทย์ปัญหา ซึ่งมี 4 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนแจ้งจุดประสงค์
2. ขั้นนำเสนอบทเรียนทั้งชั้นใช้เทคนิค KWDL
3. ขั้นกิจกรรมกลุ่มย่อยใช้เทคนิค KWDL (แผนผัง KWDL)
3.1) K นักเรียนร่วมกันค้นหาสิ่งที่โจทย์กำหนด
3.2) W นักเรียนร่วมกันค้นหาสิ่งที่โจทย์ต้องการ
3.3) D นักเรียนร่วมกันดำเนินการแก้โจทย์ปัญหา
3.4) L นักเรียนเสนอผลการแก้โจทย์ปัญหา
4. ขั้นสรุปวัดและประเมินผลการทดสอบย่อย
5. ขั้นคิดคะแนนรายบุคคลและกลุ่ม
6. ขั้นยกย่องให้รางวัลกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ
นิรันดร์ แสงกุหลาบ (2547: 52 – 53) นำเทคนิค KWDL มาปรับรูปแบบการเรียน การสอน และกิจกรรมให้เหมาะสมกับกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ซึ่งมี 4 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.1 ทบทวนความรู้เดิมโดยการยกสถานการณ์ปัญหาในเรื่องที่เรียนมาแล้วสนทนาซักถามนักเรียนให้ร่วมกันตอบคำถาม
1.2 แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ และบทบาทการทำงานกลุ่ม
1.3 เร้าความสนใจ โดยใช้เกมคณิตศาสตร์
2. ขั้นสอนเนื้อหาใหม่
2.1 ครูนำเสนอโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียนทั้งชั้นแล้วให้นักเรียน ร่วมกันอ่านโจทย์และแก้ปัญหา ตามแผนผัง KWDL ดังนี้
K ครูและนักเรียนร่วมกันหาสิ่งที่โจทย์บอกให้ทราบหรือสิ่งที่รู้เกี่ยวกับโจทย์
W ครูและนักเรียนร่วมกันหาสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบและวางแผนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์พร้อมทั้งเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดพร้อมให้เหตุผลประกอบ
D ครูและนักเรียนร่วมกันดำเนินการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตาม แผนที่ได้วางไว้
L ครูและนักเรียนร่วมสรุปการแก้ปัญหาและอธิบายตามแผนที่ได้วางไว้
2.2 นักเรียนฝึกปฏิบัติเป็นกลุ่มย่อยโดยครูคอยแนะนำ ด้วยการแบ่งนักเรียน เป็นกลุ่มๆ
ละ 4 - 5 คน ร่วมกันปฏิบัติตามบัตรกิจกรรม KWDL
3. ขั้นฝึกทักษะโดยอิสระ
3.1 แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆ ละ 4 - 5 คน (อาจใช้กลุ่มเดิมหรือจัดกลุ่มใหม่ ก็ได้)
3.2 ให้นักเรียนร่วมกันทำแบบฝึกทักษะที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนโดยตรง และ
ในสถานการณ์อื่นๆ ที่แตกต่างๆ จากตัวอย่าง เพื่อฝึกทักษะการนำไปใช้ จากแบบฝึกที่ครูสร้างขึ้น
3.3 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก
4. ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผล
4.1 นักเรียนและครูร่วมกันสรุปเนื้อหาสาระสำคัญของการเรียนรู้
4.2 ครูประเมินผลการเรียนรู้ในด้านความรู้ความเข้าใจ การนำไปใช้ และ ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์จากแบบทดสอบประจำหน่วย
4.3 นักเรียนเสนอแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานร่วมกัน เพื่อประสิทธิภาพการพัฒนาการทำงานกลุ่ม
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้




สรุป
ที่มาของการสอนแบบเทคนิค K-W-D-L
ได้พัฒนาขึ้นโดย Ogle (1989) เพื่อใช้สอนและฝึกทักษะทางการอ่าน และต่อมาได้พัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น โดย Carr และ Ogle ในปีถัดมา (1987) โดยยังคงสาระเดิมไว้ แต่เพิ่มการเขียนผังสัมพันธ์ทางความหมาย (Semantic Mapping) สรุปเรื่องที่อ่าน และมีการนำเสนอเรื่องจากผังอันเป็นการพัฒนาทักษะการเขียนและพูด นอกเหนือไปจากทักษะการฟัง และการอ่าน ต่อมา ซอและคณะ อาจารย์มหาวิทยาลัยมิสซัสซัปปี้ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเทคนิค K-W-D-L มาใช้สอนในวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งนำรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Cooperative Learning) มาผสมผสานในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้โดยพัฒนาเป็นการจัดการเรียนรู้เรียกว่าเทคนิค K-W-D-L
ความหมายของการสอนแบบเทคนิค K-W-D-L
เทคนิค KWDL หมายถึง วิธีการจัดการเรียนรู้ ที่นำการอ่านมาเป็นแนวทางช่วยในการวิเคราะห์โจทย์เพื่อหาคำตอบ มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่1 K (What we know) เรารู้อะไรบ้างจากสิ่งที่โจทย์กำหนดให้
ขั้นที่2 W (What we want to know) เราหาสิ่งที่โจทย์ต้องการรู้ว่าคืออะไรและมี วิธีการอย่างไร
ขั้นที่3 D (What we do to find out) เราจะต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อหาคำตอบตามที่โจทย์ต้องการ
ขั้นที่4 L (What we learned) เราเรียนรู้อะไร อะไรที่เราสรุปได้เป็นความรู้
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิค KWDL ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.1 ทบทวนความรู้เดิม
1.2 แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
1.3 แนะนำแผนผัง KWDL
ขั้นที่2 ขั้นสอนเนื้อหาใหม่
2.1 ครูนำเสนอเนื้อหาและนำเสนอโจทย์
2.2 นักเรียนร่วมกันอ่าน วิเคราะห์โจทย์และแก้ปัญหาตามแผนผัง KWDL
ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา โดยนักเรียนทำแบบฝึกหัดที่ครูสร้างขึ้น ซึ่งเป็นโจทย์ปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
ขั้นที่4 ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผล
4.1 นักเรียนและครูร่วมกันสรุปสาระสำคัญการเรียนรู้
4.2 ครูประเมินผลการเรียนรู้จาก การตรวจแบบฝึกหัด และแบบทดสอบประจำหน่วย
ที่มา
https://sites.google.com/site/prapasara/khanaen-sxb-klang-phakh-1. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่  12 สิงหาคม  2561
จิตรลัดดา นุ่นสกุล. ( 2555 ). https://www.gotoknow.org/posts/494489. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่  12 สิงหาคม  2561
เลิศชาย ปานมุข. ( 2558 ).  http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=63.0.  [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่  12 สิงหาคม  2561
สุจิตรา   ศรีสละ. ( 2554 ).  http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Sec_Ed/Suchittra_S.pdf. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่  12 สิงหาคม  2561
นายสุเชษฐ์  หลานฉิม. (2559). https://innoyoo.files.wordpress.com/2016/11/e0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b8a3e0b988e0b8b2e0b887-e0b899e0b8a7e0b8b1e0b895e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1.docx. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่  12 สิงหาคม  2561





รูปแบบการจัดการเรียนรู้และเทคนิคการสอน


ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์ (2553). ได้รวบรวม 80 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยแบ่งออกเป็น 11 นวัตกรรม ดังนี้
1. นวัตกรรมที่เป็นแนวคิด รูปแบบ และกระบวนการจัดการเรียนรู้
          1) การจัดการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิซึม (Constructivism)
          2) การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Instruction)
          3) การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งข้อมูลเป็นหลัก (Resource – Based Learning)
          4) การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจิตสำนึกของเปาโล แฟร์
          5) การจัดการเรียนรู้แบบนีโอฮิวแมนนิส (Neo - Humanist)
          6) การจัดการเรียนรู้ศิลปะแบบเซอเรียลิสม์ (Surrealism)
          7) การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสามเกลียวแห่งเชาว์ปัญญาของมนุษย์ของ Sternberg (The Triarchic Theory of Human Intelligence)
          8) การจัดการเรียนรู้ภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language Approach)
          9) การจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self – Directed Learning)
          10) การจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนโมเดลชิปปา (CIPPA Model)
          11) การจัดการเรียนรู้แบบทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
          12) การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการทำความกระจ่างในค่านิยม (Value Clarification) ตามแนวคิดของ ราธส์ และไซมอน
          13) การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ตามแนวคิดของทอร์แรนซ์
2. นวัตกรรมวิธรการจัดการเรียนรู้ที่ใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาและภูมิปัญญา
          14) การจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ
          15) การจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา
          16) การจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจ
          17) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom)
3. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนเป็นกลุ่ม
          18) การจัดการเรียนรู้โดยใช้สัญญาการเรียน (Learning Contracts)
          19) การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ (Storyline Method)
          20) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
          21) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบต่อภาพ (Jigsaw)
          22) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ CIRC
          23) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ STAD
          24) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ TAI
          25) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบทีมแข่งขัน (TGT)
          26) การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่ม (Group Process)
          27) การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพื่อนช่วยสอน (Peer Tutoring)
          28) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเสริมเพื่อนต่างระดับ
          29) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การระดมสมอง (Brainstorming Technique)
          30) การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มสร้างคุณภาพงาน (Q.C. Circles)
          31) การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแม่แบบ (Modeling Technique)
4. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างมโนทัศน์
          32) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างมโนทัศน์ของบรูเนอร์
          33) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกหรือโครงสร้างความรู้ (Graphic Organizer)
          34) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกรอบมโนทัศน์ (Concept Mapping)
          35) การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังทางปัญญา (Mind Mapping)
          36) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ Semantic Mapping
          37) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า (Advance Organizer)
5. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาด้านภาษา
          38) การสอนเขียนตามแนวคิดของบรู๊คสและวิทโธร (Brookes and Withrow)
          39) การสอนแบบสนทนา
          40) การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา
          41) การสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ (Process Writing)
          42) การสอนอ่านแบบ PANORAMA
6. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาและพัฒนาทักษะ
          43) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning)
          44) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงสถานการณ์ (Situated Learning)
          45) การจัดการเรียนรู้โดยใช้วงจรการเรียนรู้ (Learning Cycle Method)
          46) การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Method)
          47) การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
          48) การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่าง (Cases)
          49) การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
          50) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method)
          51) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning)
          52) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแก้ปัญหา (Problem – Centered Learning Model: PCLM)
          53) การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Method)
          54) การจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการหรือแบบทดลอง (Laboratory Method)
          55) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนทักษะตามหลักการของ ดี เชคโก (De Cecco)
7. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นพัฒนาสมองและการคิด
          56) การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคหมวนหกใบของเดอ โบโน (Six Thinking Hats)
          57) การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน (Metacognition)
          58) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบ 4 MAT
          59) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การไตร่ตรองสารนิทัศน์ (Reflective Documentation)
          60) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดแบบฮิวริสติกส์ (Heuristics)
8. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์
          61) การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบแวนฮีลี่ (Van Hiele Model)
          62) การจัดการเรียนรู้แบบ เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K – W – D - L)
          63) การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS
9. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมนันทนาการและศิลปะ
          64) การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ
          65) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเล่นปนเรียน (Play Way Method)
          66) การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง
          67) การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม
          68) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การ์ตูน (Cartoon)
          69) การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะ
10. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ประเภทวัสดุและสิ่งพิมพ์
          70) การจัดการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
          71) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน (Instructional Package)
          72) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนมินิคอร์ส
          73) การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก
          74) การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อหุ่นมือ (Hand Puppet)
          75) การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อในชีวิตประจำวัน
          76) การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผ่นพับ
11. นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ประเภทสื่อโสตทัศนูปกรณ์
          77) การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
          78) การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บช่วยสอน (Web – based Instruction)
          79) การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท (Webquest)
          80) การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก
Kobwit Piriyawat (2553). ได้รวบรวม 27 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้ดังนี้
1)           เทคนิคผึ้งแตกรัง
2)           เทคนิคโครงงาน
3)           เทคนิคแรลลี่เพื่อการเรียนรู้ (Leatning by Rally)
4)           เทคนิคการมีส่วนร่วม
5)           เทคนิคภาพความคิดของฉัน
6)           เทคนิคสายธารแห่งการเรียนรู้
7)           เทคนิคกระบวนการพัฒนาทักษะ
8)           เทคนิคแอบดูของเพื่อน
9)           เทคนิคกระบวนการ PAR (Participation Action Research)
10)      เทคนิคกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา (Polya)
11)      เทคนิคกระบวนการแก้ปัญหา (Problem Solving)
12)      เทคนิคกระบวนการสืบสวนสอบสวน
13)      เทคนิคการสอนเขียนโดยกระบวนการลูกเต๋า
14)      เทคนิคเพื่อนคิดมิตรคู่ใจ
15)      เทคนิคซินดิเคท (Syndicate)
16)      เทคนิคกลุ่มสัมพันธ์
17)      เทคนิคการสร้างความตระหนัก
18)      เทคนิคการสร้างความรู้ความเข้าใจ
19)      เทคนิคกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
20)      เทคนิคกระบวนการปฏิบัติ
21)      เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหา
22)      เทคนิคกระบวนการทางภาษา
23)      เทคนิคกระบวนการเรียนรู้แบบคลินิก
24)      เทคนิคทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
25)      เทคนิคกระบวนการให้ผู้เรียนสร้างหลักสูตร
26)      เทคนิคร่วมกันเรียนรู้
27)      เทคนิคสรรค์สร้างความรู้

ชาตรี  เกิดธรรม  ได้รวบรวม 16 เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1)           การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ
2)           การสอนแบบโครงสร้างความรู้
3)           การสอนแบบศูนย์การเรียน
4)           การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
5)           การสอนแบบบรูณาการ
6)           การสอนแบบถามตอบ
7)           การสอนด้วยรูปแบบซิปปา
8)           การสอนแบบโครงงาน
9)           การสอนด้วยรูปแบบการเรียนเป็นคู่
10)      การสอนโดยใช้กิจกรรมในแหล่งชุมชน
11)      การสอนแบบทดลอง
12)      การสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
13)      การสอนแบบอภิปราย
14)      การสอนแบบพัฒนาความสามารถเฉพาะ
15)      วิธีสอนแบบหน่วย


สรุป
ได้รวบรวมรูปแบบการจัดการเรียนรู้และเทคนิคการสอน 117 รูปแบบ ดังนี้
1)           การจัดการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิซึม (Constructivism)
2)           การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Instruction)
3)           การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งข้อมูลเป็นหลัก (Resource – Based Learning)
4)           การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจิตสำนึกของเปาโล แฟร์
5)           การจัดการเรียนรู้แบบนีโอฮิวแมนนิส (Neo - Humanist)
6)           การจัดการเรียนรู้ศิลปะแบบเซอเรียลิสม์ (Surrealism)
7)           การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสามเกลียวแห่งเชาว์ปัญญาของมนุษย์ของ Sternberg (The Triarchic Theory of Human Intelligence)
8)           การจัดการเรียนรู้ภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language Approach)
9)           การจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self – Directed Learning)
10)      การจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนโมเดลชิปปา (CIPPA Model)
11)      การจัดการเรียนรู้แบบทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
12)      การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการทำความกระจ่างในค่านิยม (Value Clarification) ตามแนวคิดของ ราธส์ และไซมอน
13)      การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ตามแนวคิดของทอร์แรนซ์
14)      การจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ
15)      การจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา
16)      การจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจ
17)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom)
18)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้สัญญาการเรียน (Learning Contracts)
19)      การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ (Storyline Method)
20)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
21)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบต่อภาพ (Jigsaw)
22)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ CIRC
23)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ STAD
24)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ TAI
25)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบทีมแข่งขัน (TGT)
26)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่ม (Group Process)
27)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพื่อนช่วยสอน (Peer Tutoring)
28)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเสริมเพื่อนต่างระดับ
29)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การระดมสมอง (Brainstorming Technique)
30)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มสร้างคุณภาพงาน (Q.C. Circles)
31)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแม่แบบ (Modeling Technique)
32)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างมโนทัศน์ของบรูเนอร์
33)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกหรือโครงสร้างความรู้ (Graphic Organizer)
34)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกรอบมโนทัศน์ (Concept Mapping)
35)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังทางปัญญา (Mind Mapping)
36)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้ Semantic Mapping
37)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า (Advance Organizer)
38)      การสอนเขียนตามแนวคิดของบรู๊คสและวิทโธร (Brookes and Withrow)
39)      การสอนแบบสนทนา
40)      การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา
41)      การสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ (Process Writing)
42)      การสอนอ่านแบบ PANORAMA
43)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning)
44)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงสถานการณ์ (Situated Learning)
45)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้วงจรการเรียนรู้ (Learning Cycle Method)
46)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Method)
47)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
48)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่าง (Cases)
49)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
50)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method)
51)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning)
52)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแก้ปัญหา (Problem – Centered Learning Model: PCLM)
53)      การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Method)
54)      การจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการหรือแบบทดลอง (Laboratory Method)
55)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนทักษะตามหลักการของ ดี เชคโก (De Cecco)
56)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคหมวนหกใบของเดอ โบโน (Six Thinking Hats)
57)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน (Metacognition)
58)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบ 4 MAT
59)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การไตร่ตรองสารนิทัศน์ (Reflective Documentation)
60)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดแบบฮิวริสติกส์ (Heuristics)
61)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบแวนฮีลี่ (Van Hiele Model)
62)      การจัดการเรียนรู้แบบ เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K – W – D - L)
63)      การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS
64)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ
65)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเล่นปนเรียน (Play Way Method)
66)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง
67)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม
68)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การ์ตูน (Cartoon)
69)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะ
70)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
71)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน (Instructional Package)
72)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนมินิคอร์ส
73)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก
74)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อหุ่นมือ (Hand Puppet)
75)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อในชีวิตประจำวัน
76)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผ่นพับ
77)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
78)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บช่วยสอน (Web – based Instruction)
79)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท (Webquest)
80)      การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก
81)      เทคนิคผึ้งแตกรัง
82)      เทคนิคแรลลี่เพื่อการเรียนรู้ (Leatning by Rally)
83)      เทคนิคการมีส่วนร่วม
84)      เทคนิคภาพความคิดของฉัน
85)      เทคนิคสายธารแห่งการเรียนรู้
86)      เทคนิคกระบวนการพัฒนาทักษะ
87)      เทคนิคแอบดูของเพื่อน
88)      เทคนิคกระบวนการ PAR (Participation Action Research)
89)      เทคนิคกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา (Polya)
90)      เทคนิคกระบวนการแก้ปัญหา (Problem Solving)
91)      เทคนิคกระบวนการสืบสวนสอบสวน
92)      เทคนิคการสอนเขียนโดยกระบวนการลูกเต๋า
93)      เทคนิคเพื่อนคิดมิตรคู่ใจ
94)      เทคนิคซินดิเคท (Syndicate)
95)      เทคนิคกลุ่มสัมพันธ์
96)      เทคนิคการสร้างความตระหนัก
97)      เทคนิคการสร้างความรู้ความเข้าใจ
98)      เทคนิคกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
99)      เทคนิคกระบวนการปฏิบัติ
100) เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหา
101) เทคนิคกระบวนการทางภาษา
102) เทคนิคกระบวนการเรียนรู้แบบคลินิก
103) เทคนิคกระบวนการให้ผู้เรียนสร้างหลักสูตร
104) เทคนิคร่วมกันเรียนรู้
105) เทคนิคสรรค์สร้างความรู้
106) การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ
107) การสอนแบบศูนย์การเรียน
108) การสอนแบบบรูณาการ
109) การสอนแบบถามตอบ
110) การสอนด้วยรูปแบบซิปปา
111) การสอนแบบโครงงาน
112) การสอนด้วยรูปแบบการเรียนเป็นคู่
113) การสอนโดยใช้กิจกรรมในแหล่งชุมชน
114) การสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
115) การสอนแบบอภิปราย
116) การสอนแบบพัฒนาความสามารถเฉพาะ
117) วิธีสอนแบบหน่วย
ที่มา
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.
กรุงเทพฯ :แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ชาตรี  เกิดธรรม. http://edu.vru.ac.th/sct/cheet%20downdload/2.pdf. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่  6  สิงหาคม  2561
Kobwit Piriyawat. (2553). https://www.slideshare.net/teacherkobwit/30-4068902. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่  6  สิงหาคม  2561







สื่อการเรียนการสอน

http://oumi024.blogspot.com/2009/08/blog-post_21.html   ได้กล่าวว่า สื่อการสอน   ก็คือ ตัวกลางสำคัญที่จะช่วยเชื่อมโยงกระบวนการเรียนก...