เลิศชาย ปานมุข (2558).
ได้กล่าวว่า เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น
การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี 5 ทฤษฏี
คือ
- ทฤษฎีเกสตัลท์
(Gestalt Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้
คือ
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์
บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
- ทฤษฎีสนาม
(Field Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้
คือ
การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ
- ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign
Theory) ของทอลแมน (Tolman)
แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ
การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง
- ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
(Intellectual Development Theory)
นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่ 2 ท่าน
ได้แก่ เพียเจต์(Piaget) และบรุนเนอร์(Bruner) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง
- ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
(A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล (Ausubel) เชื่อว่า การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน
หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์
หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ
จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย
สยุมพร ศรีมุงคุณ (2555). ได้กล่าวว่า เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด
ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น
การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง
สมชาย
รัตนทองคำ (2556). ได้กล่าวว่า
ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism) นักจิตวิทยากลุ่มนี้สนใจที่จะศึกษา
เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการคิด และการรับรู้ของบุคคล
ในช่วงที่กำลังเรียนรู้ว่า กระบวนการรับรู้มีการจัดกระทำกับข้อมูล
เรียบเรียงความรู้ ความจำ หรือประสบการณ์ที่ผ่าน มาให้เป็นระบบระเบียบ
หรือเป็นโครงสร้างเพื่อการพัฒนาด้านการเรียนรู้ (cognitive development) และสติปัญญา อย่างไร รวมทั้งได้นำเอาความรู้ความเข้าใจ และความจำ
ที่เก็บมาใช้กับการแก้ไขปัญหาใหม่อย่างไรบ้าง ซึ่งจุดสนใจ ของนักจิตวิทยากลุ่มนี้
ไม่ได้อยู่ที่สิ่งซึ่งสังเกตได้ หากแต่มุ่งไปยังกระบวนการคิดที่ซับซ้อน
และยังให้ความสนใจกับ ความรู้สึกนึกคิด ความตั้งใจ และเป้าหมายของบุคคล
โดยนักวิจัยกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นต้องอาศัย
ทั้งสิ่งแวดล้อมและตัวผู้เรียนประสานสัมพันธ์กัน
กล่าวคือส่วนหนึ่งต้องมาจากความต้องการ ความตั้งใจ และ เป้าหมายของผู้เรียน
(ผู้เรียนต้องอยากเรียน) ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าภายนอกเพียงอย่างเดียว
ดังนั้นทฤษฏีนี้จะเน้นให้ ตัวผู้เรียนมีบทบาทและส่วนร่วมเป็นอย่างมาก
โดยที่ผู้เรียนจะต้องมีความมุ่งหมายและกำหนดวัตถุประสงค์เป็น เป้าหมายของตัวเองไว้
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม สรุปได้ว่า เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด
ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้นการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล
การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ
ดังนั้นทฤษฏีนี้จะเน้นให้
ตัวผู้เรียนมีบทบาทและส่วนร่วมเป็นอย่างมาก
โดยที่ผู้เรียนจะต้องมีความมุ่งหมายและกำหนดวัตถุประสงค์เป็น เป้าหมายของตัวเองไว้
ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี 5 ทฤษฏี
- ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt
Theory)
- ทฤษฎีสนาม (Field
Theory)
- ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory) ของทอลแมน (Tolman)
- ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual
Development Theory)
- ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
(A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล (Ausubel)
ที่มา
เลิศชาย ปานมุข. (2558
). http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0.
[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2561
[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2561
สยุมพร
ศรีมุงคุณ. (2555).
https://www.gotoknow.org/posts/341272.
[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561
สมชาย รัตนทองคำ. (2556).
https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/tech/56web/3learn_th56.pdf
. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น