เลิศชาย
ปานมุข (2558). ได้กล่าวว่า ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย
- เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical
mathematical intelligence)
- สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily
kinesthetic intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist
intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้
คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน
2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด
แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
สยุมพร
ศรีมุงคุณ (2555). ได้กล่าวว่า
เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน
ประกอบด้วย
- เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical
mathematical intelligence)
- สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily
kinesthetic intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้
คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น
และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา
ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด
แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน
ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน การสอนควรเน้นการส่งเสริมควาเป็มนเอกลักษณ์ของผู้เรียน
ครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน
ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินหลายๆ ด้าน
และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ
การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ
อีกวิธีหนึ่ง
https://library.stou.ac.th/libblog/ ได้กล่าวว่า ศาสตราจารย์โฮเวิร์ด
การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด
เป็นผู้เสนอ “ทฤษฎีพหุปัญญา” (The Theory of Multiple Intelligences) ซึ่งมีแนวคิดว่าความฉลาดของมนุษย์ แบ่งได้ 8 ด้าน
ประกอบด้วย
1. ความฉลาดด้านภาษา
(Linguistic) จุดเด่น คือ จำและคิดเป็นภาษาหรือคำศัพท์
อธิบายเรื่องที่เกี่ยวกับตนเองได้ดี
2. ความฉลาดด้านคณิตศาสตร์และตรรกะ
(Logical-Mathematical) จุดเด่น คือ
เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลได้ดี เมื่อเผชิญสถานการณ์ที่ซับซ้อน
สามารถแยกแยะ จัดลำดับและเข้าใจรูปแบบของสิ่งที่เกิดขึ้น
3. ความฉลาดด้านดนตรี
(Musical) จุดเด่น คือ
มักหลงเสน่ห์ดนตรีและเสียงเพลงทำให้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นคำคล้องจองหรือเป็นแบบแผน
ซึมซับและจดจำข้อมูลเป็นแบบแผนและบทกลอนหรือคำคล้องจอง
4. ความฉลาดด้านร่างกาย
(Bodily-Kinesthetic) จุดเด่น คือ
ตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางกายภาพได้ดี
ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กได้อย่างยอดเยี่ยม
เคลื่อนไหวตลอดเวลาที่เรียนรู้ (ทำให้อาจดูเหมือนอยู่นิ่งไม่ได้)
5. ความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์
(Spatial) จุดเด่น คือ
สามารถวิเคราะห์และจัดการได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
สามารถจินตนาการและสร้างโลกใหม่ขึ้นมาในความคิด สามารถจัดการและเล่นสิ่งของต่างๆ
ได้ดี และมีทักษะในการใช้มือที่ดี
6. ความฉลาดด้านมนุษยสัมพันธ์
(Interpersonal) จุดเด่น คือ ชอบเล่นเป็นกลุ่ม
สามารถนำผู้อื่นได้ดี สนใจความรู้สึกและมักเห็นอกเห็นใจคนอื่น
7. ความฉลาดด้านเข้าใจตนเอง
(Intrapersonal) จุดเด่น คือ
การทำงานให้ถึงเป้าหมายชัดเจนว่าตนเองชอบหรือไม่ชอบอะไร รักความยุติธรรม
8. ความฉลาดด้านรู้จักธรรมชาติ
(Naturalistic) จุดเด่น คือ
สังเกตเห็นรูปแบบและคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ชอบจัดระบบสิ่งของที่สะสมไว้
มีความสามารถในการแยกแยะระหว่างสิ่งของในหมวดเดียวกัน
และสังเกตเห็นความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ
สรุป
ทฤษฎีพหุปัญญา สรุปได้ว่า
ศาสตราจารย์โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เป็นผู้เสนอ “ทฤษฎีพหุปัญญา” (The
Theory of Multiple Intelligences) ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย
- เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical
mathematical intelligence)
- สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily
kinesthetic intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist
intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้
คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน
2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด
แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้
คือ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ
ด้าน ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน
ที่มา
เลิศชาย ปานมุข. (2558
). http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0.
[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2561
[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2561
สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2555).
https://www.gotoknow.org/posts/341272.
[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561
https://library.stou.ac.th/libblog/.
[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2561
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น