วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)  
          สยุมพร ( 2555 ). ได้กล่าวว่า นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี–ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response)  การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ   ”พฤติกรรม”  มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด  สามารถวัดและทดสอบได้  ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้  ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน  คือ 
          -   ทฤษฎีการเชื่อมโยง(Classical Connectionism)   ของธอร์นไดค์(Thorndike) มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ซึ่งมีหลายรูปแบบ  บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุดเมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว  บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเและจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง  มีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน  เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วครูควรฝึกให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ  การศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  
          -   ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory)   ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี  ดังนี้ 
1)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข 
2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning)  เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ 
3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie’s Contiguous Conditioning)  เน้นหลักการจูงใจ  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว  ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก  
4) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s Operant Conditioning)  เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก  การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน  การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียนรู้ 
          -   ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)  มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า  การเรียนรู้จะลดลง  การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม  ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด  การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน 

          ทิศนา แขมมณี  (2554 : 45-48). ได้กล่าวว่า นักคิดกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดีไม่เลว (neutral-passive)การกระทำต่างๆ ของมนุษย์จากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response)การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง กลุ่มนี้ให้ความสนใจกับ “พฤติกรรมมาก แนวคิดสำคัญๆ 3 แนว คือ ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism)ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Classical Connectionism)
ธอร์นไดค์ (ค..1814-1949)เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง บุคคลจะมีการลองผิดลองถูก (trial and error)ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่พึงพอใจมากที่สุด กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ คือ กฎแห่งความพร้อม (Low of Readiness)กฎแห่งการฝึกฝน (Low of Exercise)กฎแห่งการใช้ (Low of Use and Disuse)กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Low of Effect)  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูก สำรวจความพร้อม สร้างความของผู้เรียนหากต้องการให้ผู้เรียนมีทักษะในเรื่องใดจะต้องช่วยให้เขาเกิดความเข้าใจในเรื่องนั้นอย่างแท้จริง ให้ผู้เรียนฝึกนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ ให้ผู้เรียนได้รับผลที่ตนพึงพอใจ
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
·       ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัติโนมัติ (Classical Conditioning)ของพาฟลอฟ (Pavlov)พาฟลอฟได้ทำการทดลองให้สุนัขน้ำลายไหลด้วยเสียงกระดิ่ง เขาสรุปว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิติเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (conditioned stimulus)
·       ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสัน (Watson)วัตสันได้ทำการทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว ขณะที่เด็กกำลังจับหนูขาว เขาก็ทำเสียงดังจนเด็กตกใจร้องไห้ จากนั้นเด็กก็กลัวหนูขาว ต่อมานำหนูขาวให้เด็กดูโดยแม่จะกอดเด็กไว้ จากนั้นเด็กจะค่อยๆ หายกลัวหนูขาว พฤติกรรมสามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆ ได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
·       ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง (Contiguous Conditioning)ของกัทธรี กัทธรีได้ทำการทดลองโดยปล่อยแมวที่หิวจัดเข้าไปในกล่องปัญหา กฎแห่งความต่อเนื่อง (Low of Contiguity)เมื่อมีกลุ่มสิ่งเร้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากระตุ้นจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น การเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้เพียงอย่างเดียว(One trial learning)มีสภาวะสิ่งเร้ามากระตุ้น กฎแห่งการกระทำครั้งสุดท้าย (Low of Recency)การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว หลักการจูงใจ (Motivation)การเรียนรู้เกิดจากการจูงใจมากกว่าการเสริมแรง
·       ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ (Opernat Conditioning)ของสกินเนอร์ (Skinner)สกินเนอร์ได้ทำการทดลองสรุปเป็นกฎการเรียนรู้ดังนี้ การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่เสริมแรงมีแนวโน้มที่จะลดลงและหายไปในที่สุด การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่อกระทำพฤติกรรมที่ต้องการสามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้
ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)ฮัลล์ได้ทำการทดลองโดยฝึกหนูให้กดคาน กล่าวคือ จะทำให้การเชื่อมโยงระหว่างอวัยวะระบบสัมผัส (receptor)กับอวัยวะแสดงออก (effector)เข้มแข็งขึ้น ดังนั้นเมื่อหนูหิวมาก จึงมีพฤตกรรมกดคานเร็วขึ้น กฎแห่งสมรรถภาพในการตอบสนอง (Low of Reactive Inhibition)กล่าวคือ ถ้าร่างกายเมื่อยล้า การเรียนรู้จะลดลง กฎแห่งการลำดับกลุ่มนิสัย (Low of Habit Hierachy)เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น แต่ละคนจะมีการตอบสนองต่างๆ กฎแห่งการการใกล้จะบรรลุเป้าหมาย (Goal Gradient Hypothesis)เมื่อผู้เรียนยิ่งใกล้บรรลุเป้าหมายเท่าใดจะมีการตอบสนองมากขึ้นเท่านั้น

          เลิศชาย ปานมุข (2558 ). ได้กล่าวว่า นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง  คือ  ไม่ดี ? ไม่เลว  การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response)  การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ  พฤติกรรม มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้ ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่นี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน  คือ

          -   ทฤษฎีการเชื่อมโยง (Classical Connectionism)ของธอร์นไดค์(Thorndike) มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ซึ่งมีหลายรูปแบบ  บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด
          -   ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory)   ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี  ดังนี้
1)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov?s Classical Conditioning)   เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข 
2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน(Watson?s Classical Conditioning)  เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน 
3)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie?s Contiguous Conditioning)  เน้นหลักการจูงใจ   
4)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner?s Operant Conditioning)  เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล
          -   ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์(Hull?s Systematic Behavior Theory) มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า  การเรียนรู้จะลดลง  การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย

สรุป
          ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)  สรุปได้ว่า นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี–ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มนี้ให้ความสนใจกับ “พฤติกรรมมาก แนวคิดสำคัญๆ 3 แนว
1.     ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Classical Connectionism)
          ความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ซึ่งมีหลายรูปแบบ  บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่พึงพอใจมากที่สุด กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ คือ กฎแห่งความพร้อม (Low of Readiness)กฎแห่งการฝึกฝน (Low of Exercise)กฎแห่งการใช้ (Low of Use and Disuse)กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Low of Effect)  
2.     ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
                   ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัติโนมัติ (Classical Conditioning)ของพาฟลอฟ
                   ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสัน (Watson)
                   ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง (Contiguous Conditioning)ของกัทธรี
                   ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ (Opernat Conditioning) ของสกินเนอร์
          (Skinner)
3.     ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)
          มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า  การเรียนรู้จะลดลง  การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย

ที่มา   
          ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.   กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
          เลิศชาย ปานมุข. (2558). http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0 . [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่  2 กรกฎาคม 2561
          สยุมพร   ศรีมุงคุณ.  (2555).  https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่  17 กรกฎาคม 2561





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สื่อการเรียนการสอน

http://oumi024.blogspot.com/2009/08/blog-post_21.html   ได้กล่าวว่า สื่อการสอน   ก็คือ ตัวกลางสำคัญที่จะช่วยเชื่อมโยงกระบวนการเรียนก...