วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนรู้แบบเทคนิค K-W-D-L


ที่มาของการจัดการเรียนรู้แบบเทคนิค K-W-D-L
ประภัสรา  (ม.ป.ป.). ได้กล่าวว่า  การสอนแบบเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) หรือ เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) ได้พัฒนาขึ้นโดย Ogle (1989) เพื่อใช้สอนและฝึกทักษะทางการอ่าน และต่อมาได้พัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น โดย Carr และ Ogle ในปีถัดมา (1987) โดยยังคงสาระเดิมไว้ แต่เพิ่มการเขียนผังสัมพันธ์ทางความหมาย (Semantic Mapping) สรุปเรื่องที่อ่าน และมีการนำเสนอเรื่องจากผังอันเป็นการพัฒนาทักษะการเขียนและพูด นอกเหนือไปจากทักษะการฟัง และการอ่าน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการสอนทักษะภาษา แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆที่มีการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ เช่น วิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นต้น เพราะว่าผู้เรียนจะได้รับการฝึกให้ตระหนักในกระบวนการการทาความเข้าใจตนเอง การวางแผนการ ตั้งจุดมุ่งหมาย ตรวจสอบความเข้าใจในตนเอง การจัดระบบข้อมูล เพื่อดึงมาใช้ภายหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีประโยชน์ในการฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนสรุป และนำเสนอ ซอและคณะ อาจารย์มหาวิทยาลัยมิสซัสซัปปี้ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเทคนิค K-W-D-L มาใช้สอนในวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งนำรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Cooperative Learning) มาผสมผสานในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้โดยพัฒนาเป็นการจัดการเรียนรู้เรียกว่าเทคนิค K-W-D-L มีการทดลองใช้การเรียนร่วมกลุ่มในวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งครูในโปรแกรม PDS (Professional Development School) ซึ่งเป็นโปรแกรมพัฒนาครูของมหาวิทยาลัยมิสซัสซิปปี้ได้ขอให้ทางมหาวิทยาลัยริเริ่มจัดโครงการเรียนร่วมกลุ่ม (cooperative learning) ผู้ร่วมโครงการ คือครูผู้สอนเกรด 4 และนักเรียนของตน เป็นโรงเรียนที่อยู่ในชนบทห่างไกล ครูไม่เคยมีประสบการณ์ในเรื่องการจัดการเรียนร่วมกลุ่มใน วิชาคณิตศาสตร์มาก่อน แต่ใคร่ที่จะเรียนรู้และทดลองใช้ กลวิธีนี้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มทดลองมี 2 ห้องเรียนใช้การเรียนร่วมกลุ่มในวิชา คณิตศาสตร์และวิชาอื่นๆด้วย ส่วนอีก 2 ห้องเรียน นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มเป็นครั้งคราว ในกลุ่มทดลองนั้น นักเรียนจะเรียนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เป็นกลุ่ม 2 – 4 คาบ ต่อสัปดาห์และคาบที่เรียนร่วมกลุ่มนี้จะเรียนหลังจากที่ได้เรียนหัวข้อต่างๆ อันเป็นพื้นฐานในกลุ่มใหญ่แล้วในกลุ่มทดลองนี้นักเรียนแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้หนังสือเรียนแบบฝึกสถานการณ์จริงที่ครูแนะนำ และสื่อสาเร็จที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นครูได้รับการแนะนำและทบทวนเกี่ยวกับกลวิธีแก้ปัญหาเฉพาะเช่น การเดา และการตรวจสอบ ทำแผนภูมิ และภาพประกอบ  
จิตรลัดดา นุ่นสกุล. (2555).  ได้กล่าวว่า  การสอนด้วยเทคนิค KWDL เป็นเทคนิคการเรียนรู้ที่พัฒนามาจาก KWLของโอเกิล(Ogle  1986) ที่ต้องอาศัยทักษะการอ่านเป็นฐาน  นั่นคือนักเรียนมีความสามารถในการอ่านก่อนที่จะสามารถพัฒนาทักษะการอ่านมากขึ้น  การสอนด้วยเทคนิค KWDL มีขั้นตอนดำเนินการเช่นเดียวกับ เทคนิคการสอนแบบ KWL แต่จะเพิ่ม Dในขั้นตอนที่ 3   จากเดิม 3 ขั้นตอนมาเป็น 4 ขั้นตอน เพื่อให้เหมาะสมในการใช้แก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์  
เลิศชาย ปานมุข. ( 2558 ).  ได้กล่าวว่า การสอนแบบเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) หรือ เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) ได้พัฒนาขึ้นโดย Ogle (1989) เพื่อใช้สอนและฝึกทักษะทางการอ่าน และต่อมาได้พัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น โดย Carr และ Ogle ในปีถัดมา (1987) โดยยังคงสาระเดิมไว้ แต่เพิ่มการเขียนผังสัมพันธ์ทางความหมาย (Semantic Mapping) สรุปเรื่องที่อ่าน และมีการนำเสนอเรื่องจากผังอันเป็นการพัฒนาทักษะการเขียนและพูด นอกเหนือไปจากทักษะการฟัง และการอ่าน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการสอนทักษะภาษา แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆที่มีการอ่านเพื่อทาความเข้าใจ เช่น วิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นต้น เพราะว่าผู้เรียนจะได้รับการฝึกให้ตระหนักในกระบวนการการทาความเข้าใจตนเอง การวางแผนการ ตั้งจุดมุ่งหมาย ตรวจสอบความเข้าใจในตนเอง การจัดระบบข้อมูล เพื่อดึงมาใช้ภายหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีประโยชน์ในการฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนสรุป และนำเสนอ
         
ความหมายการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL
สุจิตรา   ศรีสละ. ( 2554 ).   ได้กล่าวว่า   เทคนิค K-W-D-L หมายถึง วิธีการจัดการเรียนรู้ ที่นำการอ่านมาเป็นแนวทางช่วยใน การวิเคราะห์โจทย์เพื่อหาคำตอบ มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 K (What we know) เรารู้อะไรบ้างจากสิ่งที่โจทย์กำหนดให้
ขั้นที่ 2 W (What we want to know) เราหาสิ่งที่โจทย์ต้องการรู้ว่าคืออะไรและมี วิธีการอย่างไร
ขั้นที่ 3 D (What we do to find out) เราจะต้องด าเนินการอย่างไรเพื่อหาคำตอบ ตามที่โจทย์ต้องการ
ขั้นที่ 4 L (What we learned) เราเรียนรู้อะไร อะไรที่เราสรุปได้เป็นความรู้
ชอ แชมเบลส และ เชสซิน (Shaw; Chambless; & Chessin. 1997: 482 - 486)   ได้กล่าวว่า  เทคนิค KWDL หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ
1. K (What we know) เรารู้อะไรบ้าง
2. W (What we want to know) เราต้องการรู้ ต้องการทราบอะไร
3. D (What we do to find out) เราทำอะไรไปบ้างแล้ว
4. L (What we learned) เราเรียนรู้อะไรบ้าง
นิรันดร์ แสงกุหลาบ (2547: 13)   ได้กล่าวว่า   เทคนิค KWDL หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ชี้นำการคิดแนวทาง ในการอ่านและหาคำตอบประกอบไปด้วยขั้นตอนการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน คือ
1. K (What we know) เรารู้อะไรบ้างจากที่โจทย์กำหนดให้
2. W (What we want to know) เราต้องการรู้ ต้องการทราบอะไร
3. D (What we do to find out) เราทำอะไร อย่างไรหรือเรามีวิธีการอย่างไรบ้าง
4. L (What we learned) เราเรียนรู้อะไร อะไรที่สรุปได้เป็นความรู้

ขั้นตอนและกระบวนการการจัดการเรียนรู้
วีระศักดิ์  เลิศโสภา (2544: 6) นำเทคนิค KWDL มาใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยนำมาบูรณาการกับการเรียนแบบร่วมมือกัน (Cooperative Learning) ด้วยการปรับรูปแบบการเรียน ให้เหมาะสมกับกระบวนการแก้โจทย์ปัญหา มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทบทวนความรู้เดิมโดยนำเสนอสถานการณ์ปัญหาหรือ เกมคณิตศาสตร์
ขั้นที่2 ขั้นดำเนินการสอนใช้เทคนิคการสอน เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ในการสอนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนการสอน 4 ขั้นตอน
1) หาสิ่งที่รู้เกี่ยวกับโจทย์ โดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆ ละ 4 - 5 คน ให้นักเรียนร่วมกันระดมสมองหาสิ่งที่โจทย์กำหนดให้และสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบ
2) นักเรียนร่วมกันอภิปราย เพื่อหาความสัมพันธ์ของโจทย์ที่กำหนดให้และ วิธีการแก้โจทย์ปัญหา
3) ดำเนินการแก้โจทย์ปัญหา นักเรียนช่วยกันแก้โจทย์ปัญหา โดยเขียน เป็นประโยคสัญลักษณ์ หาคำตอบ และตรวจคำตอบที่ได้
4) สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียน ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอรูปแบบ และแนวทาง ในการแก้โจทย์ปัญหา นักเรียนสรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน
ขั้นที่3 ขั้นฝึกทักษะอิสระ นักเรียนทำแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์
ขั้นที่4 ขั้นวัดและประเมินผล สังเกตการร่วมกิจกรรม ตรวจผลงานกลุ่ม และแบบฝึกหัด
น้ำทิพย์ ชังเกตุ (2547: 9) นำเทคนิค KWDL มาบูรณาการกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยการปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับ กระบวนการและวิธีแก้โจทย์ปัญหา ซึ่งมี 4 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนแจ้งจุดประสงค์
2. ขั้นนำเสนอบทเรียนทั้งชั้นใช้เทคนิค KWDL
3. ขั้นกิจกรรมกลุ่มย่อยใช้เทคนิค KWDL (แผนผัง KWDL)
3.1) K นักเรียนร่วมกันค้นหาสิ่งที่โจทย์กำหนด
3.2) W นักเรียนร่วมกันค้นหาสิ่งที่โจทย์ต้องการ
3.3) D นักเรียนร่วมกันดำเนินการแก้โจทย์ปัญหา
3.4) L นักเรียนเสนอผลการแก้โจทย์ปัญหา
4. ขั้นสรุปวัดและประเมินผลการทดสอบย่อย
5. ขั้นคิดคะแนนรายบุคคลและกลุ่ม
6. ขั้นยกย่องให้รางวัลกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ
นิรันดร์ แสงกุหลาบ (2547: 52 – 53) นำเทคนิค KWDL มาปรับรูปแบบการเรียน การสอน และกิจกรรมให้เหมาะสมกับกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ซึ่งมี 4 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.1 ทบทวนความรู้เดิมโดยการยกสถานการณ์ปัญหาในเรื่องที่เรียนมาแล้วสนทนาซักถามนักเรียนให้ร่วมกันตอบคำถาม
1.2 แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ และบทบาทการทำงานกลุ่ม
1.3 เร้าความสนใจ โดยใช้เกมคณิตศาสตร์
2. ขั้นสอนเนื้อหาใหม่
2.1 ครูนำเสนอโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียนทั้งชั้นแล้วให้นักเรียน ร่วมกันอ่านโจทย์และแก้ปัญหา ตามแผนผัง KWDL ดังนี้
K ครูและนักเรียนร่วมกันหาสิ่งที่โจทย์บอกให้ทราบหรือสิ่งที่รู้เกี่ยวกับโจทย์
W ครูและนักเรียนร่วมกันหาสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบและวางแผนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์พร้อมทั้งเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดพร้อมให้เหตุผลประกอบ
D ครูและนักเรียนร่วมกันดำเนินการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตาม แผนที่ได้วางไว้
L ครูและนักเรียนร่วมสรุปการแก้ปัญหาและอธิบายตามแผนที่ได้วางไว้
2.2 นักเรียนฝึกปฏิบัติเป็นกลุ่มย่อยโดยครูคอยแนะนำ ด้วยการแบ่งนักเรียน เป็นกลุ่มๆ
ละ 4 - 5 คน ร่วมกันปฏิบัติตามบัตรกิจกรรม KWDL
3. ขั้นฝึกทักษะโดยอิสระ
3.1 แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆ ละ 4 - 5 คน (อาจใช้กลุ่มเดิมหรือจัดกลุ่มใหม่ ก็ได้)
3.2 ให้นักเรียนร่วมกันทำแบบฝึกทักษะที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนโดยตรง และ
ในสถานการณ์อื่นๆ ที่แตกต่างๆ จากตัวอย่าง เพื่อฝึกทักษะการนำไปใช้ จากแบบฝึกที่ครูสร้างขึ้น
3.3 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก
4. ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผล
4.1 นักเรียนและครูร่วมกันสรุปเนื้อหาสาระสำคัญของการเรียนรู้
4.2 ครูประเมินผลการเรียนรู้ในด้านความรู้ความเข้าใจ การนำไปใช้ และ ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์จากแบบทดสอบประจำหน่วย
4.3 นักเรียนเสนอแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานร่วมกัน เพื่อประสิทธิภาพการพัฒนาการทำงานกลุ่ม
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้




สรุป
ที่มาของการสอนแบบเทคนิค K-W-D-L
ได้พัฒนาขึ้นโดย Ogle (1989) เพื่อใช้สอนและฝึกทักษะทางการอ่าน และต่อมาได้พัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น โดย Carr และ Ogle ในปีถัดมา (1987) โดยยังคงสาระเดิมไว้ แต่เพิ่มการเขียนผังสัมพันธ์ทางความหมาย (Semantic Mapping) สรุปเรื่องที่อ่าน และมีการนำเสนอเรื่องจากผังอันเป็นการพัฒนาทักษะการเขียนและพูด นอกเหนือไปจากทักษะการฟัง และการอ่าน ต่อมา ซอและคณะ อาจารย์มหาวิทยาลัยมิสซัสซัปปี้ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเทคนิค K-W-D-L มาใช้สอนในวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งนำรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Cooperative Learning) มาผสมผสานในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้โดยพัฒนาเป็นการจัดการเรียนรู้เรียกว่าเทคนิค K-W-D-L
ความหมายของการสอนแบบเทคนิค K-W-D-L
เทคนิค KWDL หมายถึง วิธีการจัดการเรียนรู้ ที่นำการอ่านมาเป็นแนวทางช่วยในการวิเคราะห์โจทย์เพื่อหาคำตอบ มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่1 K (What we know) เรารู้อะไรบ้างจากสิ่งที่โจทย์กำหนดให้
ขั้นที่2 W (What we want to know) เราหาสิ่งที่โจทย์ต้องการรู้ว่าคืออะไรและมี วิธีการอย่างไร
ขั้นที่3 D (What we do to find out) เราจะต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อหาคำตอบตามที่โจทย์ต้องการ
ขั้นที่4 L (What we learned) เราเรียนรู้อะไร อะไรที่เราสรุปได้เป็นความรู้
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิค KWDL ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.1 ทบทวนความรู้เดิม
1.2 แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
1.3 แนะนำแผนผัง KWDL
ขั้นที่2 ขั้นสอนเนื้อหาใหม่
2.1 ครูนำเสนอเนื้อหาและนำเสนอโจทย์
2.2 นักเรียนร่วมกันอ่าน วิเคราะห์โจทย์และแก้ปัญหาตามแผนผัง KWDL
ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา โดยนักเรียนทำแบบฝึกหัดที่ครูสร้างขึ้น ซึ่งเป็นโจทย์ปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
ขั้นที่4 ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผล
4.1 นักเรียนและครูร่วมกันสรุปสาระสำคัญการเรียนรู้
4.2 ครูประเมินผลการเรียนรู้จาก การตรวจแบบฝึกหัด และแบบทดสอบประจำหน่วย
ที่มา
https://sites.google.com/site/prapasara/khanaen-sxb-klang-phakh-1. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่  12 สิงหาคม  2561
จิตรลัดดา นุ่นสกุล. ( 2555 ). https://www.gotoknow.org/posts/494489. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่  12 สิงหาคม  2561
เลิศชาย ปานมุข. ( 2558 ).  http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=63.0.  [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่  12 สิงหาคม  2561
สุจิตรา   ศรีสละ. ( 2554 ).  http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Sec_Ed/Suchittra_S.pdf. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่  12 สิงหาคม  2561
นายสุเชษฐ์  หลานฉิม. (2559). https://innoyoo.files.wordpress.com/2016/11/e0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b8a3e0b988e0b8b2e0b887-e0b899e0b8a7e0b8b1e0b895e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1.docx. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่  12 สิงหาคม  2561





1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากค่ะ ได้ความรู้นำไปใช้ประโยชน์ในการสอนได้มากเลยค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

    ตอบลบ

สื่อการเรียนการสอน

http://oumi024.blogspot.com/2009/08/blog-post_21.html   ได้กล่าวว่า สื่อการสอน   ก็คือ ตัวกลางสำคัญที่จะช่วยเชื่อมโยงกระบวนการเรียนก...